ประวัติโรงเรียน

his school

          โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า อุตรดิตถ์ ชื่อเดิม โรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยา จัดตั้งขึ้นตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 ให้สร้างเป็นโรงเรียนประจำตำบล บนพื้นที่สาธารณประโยชน์ของนิคมฯลำน้ำน่านอุตรดิตถ์ กรมประชาสงเคราะห์ ซึ่งแต่เดิมใช้เป็นที่เพื่อการเลี้ยงสัตว์ ของชาวบ้านตำบลผาจุก สภาตำบลและกรมประชาสงเคราะห์  ได้มอบที่ดินสร้างโรงเรียน ครั้งแรกจำนวน 133 ไร่ และได้จัดสรรเพิ่มเติมจนในปัจจุบันมีเนื้อที่ ทั้งหมด 154 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวา
          โรงเรียนเปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรก ได้อาศัยสถานที่ของโรงเรียนวัดวังยาง ในปีพ.ศ.2522 โดย  นายปลาย สอดจันทร์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดวังยางได้มอบอาคาร 1 หลัง สำหรับจัดการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งครูใหญ่ให้มาดำรงตำแหน่งคนแรกคือ นายสมเด็จ โภชนจันทร์
           เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551 คณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 เห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยาเป็น  “โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า อุตรดิตถ์” โรงเรียนในเครือข่ายเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า แห่งที่ 7 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กรมสามัญศึกษาเดิม) กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 227 หมู่ 1 ตำบลผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000 โทร 055-479933 โทรสาร 055-479933

วิสัยทัศน์-พันธกิจ

vision school

วิสัยทัศน์ (Vision) arrow to r ชุมชนแห่งการเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียนอย่างมีคุณภาพด้วยมาตรฐานสากล บนพื้นฐานความเป็นไทย

อกลักษณ์โรงเรียน arrow to r สถานศึกษาพอเพียง

ค่านิยม arrow to r รักสถาบัน มุ่งมั่นทำงานเป็นทีม

อัตลักษณ์โรงเรียน arrow to r มีจิตอาสา อยู่อย่างพอเพียง

ยุทธศาสตร์

  1. การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง
  2. พัฒนาคุณภาพผู้เรียน และส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
  3. การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
  4. การสร้างโอกาสทางการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
  5. การจัดการศึกษา เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  6. การพัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ

พันธกิจ  (Mission)

  1. จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้ได้มาตรฐานตามหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล
  2. พัฒนาครูและบุคลาการทางการศึกษาให้ได้มาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานวิทยฐานะ
  3. ส่งเสริมการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และคุณภาพผู้เรียนให้มีทักษะเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
  4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์บนพื้นฐานความเป็นไทย
  5. พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพด้วยระบบคุณภาพ OBECQA

ป้าประสงค์

  1. สถานศึกษามีการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ โดยใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ มีการวัดและประเมินผลผู้เรียนอย่างเป็นระบบและหลากหลาย
  2. ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถและทักษะเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  3. ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมและนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
  4. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานวิทยฐานะ
  5. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่หลากหลายเน้นการปฏิบัติจริง (Active Learning) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน
  6. สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคม มีการให้บริการทางการศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
  7. สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ยึดหลักธรรมมาภิบาลและศาสตร์พระราชา โดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน
  8. สถานศึกษาส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในให้เข้มแข็ง มีการกำกับติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลเพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

 ลยุทธ์

  1. พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้มีความรู้ตามหลักสูตรมาตรฐานสากล
  2. พัฒนาผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ได้มาตรฐานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  3. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพในรูปแบบที่หลากหลาย
  4. ขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานให้บริการทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
  5. จัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิต สร้างคนดีของสังคมบนพื้นฐานความเป็นไทย ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมมาภิบาลเน้นการมีส่วนร่วมโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน

ผังวิสัยทัศน์

สัญลักษณ์

logo school

 resize

ดาวน์โหลดตราพระเกี้ยวที่นี่
download

 

ตราโรงเรียน arrow to r พระเกี้ยว พระราชลักจกรประจำพระองศ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระพุทธรูปประจำโรงเรียน arrow to r พระสิทธัตถะมหามุนี    

ปรัชญาโรงเรียน arrow to r ความเป็นเลิศทางวิชาการและคุณธรรม

คติพจน์ arrow to r “โยจ ธมฺเมน จรติ ปริปูเรติ ปารมี” พึงสร้างความดีให้ถูกทาง การสร้างความดีเป็นการสร้างวาสนาบารมีให้แก่ตน

สีประจำโรงเรียน arrow to r ฟ้า – ชมพู                

ต้นไม้ประจำโรงเรียน arrow to r ชงโค – เฟื่องฟ้าชมพู

schoolflower

         

          ประวัติพระเกี้ยว

         เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ คำว่า เกี้ยว ถ้าเป็นคำนามแปลว่า เครื่องประดับศีรษะหรือเครื่องสวมจุก ถ้าเป็นคำกริยา แปลว่า ผูกรัดหรือพันพระเกี้ยวเป็นสัญลักษณ์ ที่ชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภูมิใจ ทั้งนี้สืบเนื่องจาก ชื่อของมหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ในสมเด็จพระปิยมหาราช ซึ่งได้พระราชทานกำเนิดมหาวิทยาลัยนี้ จุฬาลงกรณ์ แปลว่าเครื่องประดับศีรษะ หรือจุลมงกุฎ
          จุลมงกุฎมีความหมายสำคัญยิ่งคือ เกี่ยวโยงถึงพระนามาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎฯ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์จึงมีความหมายว่า จุลมงกุฎ หรือพระราชโอรสของสมเด็จฯเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ยิ่งกว่านั้นยังมีความเกี่ยวกันถึงพระปรมาภิไธย ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งหมายความว่า “พระจอมเกล้าน้อย”
          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดให้พระเกี้ยว เป็นพิจิตรเรขา(สัญลักษณ์) ประจำรัชกาลของพระองค์ เมื่อตั้งสำนักฝึกหัดข้าราชการพลเรือน หรือต่อมาได้รับพระราชทานชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก จึงโปรดเกล้าพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญพระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายหน้าหมวกของนักเรียนมหาดเล็ก
          ต่อมาเมื่อโรงเรียนมหาดเล็กกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตามที่กราบบังคมทูล ขอพระราชทาน เมื่อโรงเรียนมหาดเล็กได้วิวัฒน์ขึ้นเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ และจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ผู้บริหารก็ได้กราบบังคมทูล ขอพระบรมราชานุญาต เปลี่ยนข้อความใต้พระเกี้ยวตามชื่อ ซึ่งได้พระราชทานใหม่ตลอดมา
          โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า อุตรดิตถ์ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ใช้ตราพระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ

เมนูหลัก

ข้อมูลกลุ่มบริหารงาน

บริการข้อมูล

เครือข่าย 9 เตรียมน้อมฯ